KPI for Your Success

.

Thursday, February 25, 2016

Top 10 Manufacturing KPIs


Top 10 Manufacturing KPIs
เป้าหมายของทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตคือประสิทธิภาพของนวัตกรรมและการบริหารกระบวนการผลิต การดำเนินการผลิตที่มีประสิทธิภาพมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการนำเสนอลูกค้า การให้บริการที่ดี สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และสุขภาพที่ดีของพนักงาน

บริษัทผู้ผลิตต่างก็มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกัน แต่ทุกบริษัทจำเป็นต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานและผลิตภาพที่เกิดขึ้น คำถามคือ บริษัทควรวัดประสิทธิภาพการผลิตในด้านใดบ้าง?
วิธีที่ดีที่สุดในการวัดประสิทธิภาพการผลิตคือการกำหนดและติดตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพในการผลิตเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การใช้ตัวชี้วัดจะช่วยสร้างความเข้าใจแก่ผู้ผลิตเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานตามกลยุทธ์ได้อย่างชัดเจน

โดยทั่วไป ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิตมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและจะไม่คงที่ บริษัทอาจให้ความสำคัญกับมาตรการบางอย่างที่มีความสำคัญมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีลูกค้าบ่นเกี่ยวกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากขึ้น บริษัทก็ควรให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์และผลผลิตเป็นหลัก

ผลงานวิจัยชี้วัดการผลิตโดย MESA (Manufacturing Enterprise Solutions Association)ด้สรุปรายชื่อของตัวชี้วัดที่มีความสำคัญกับการผลิต โดยการวิจัยนี้มีทั้งหมด 28 ตัวชี้วัดประสิทธิภาพการผลิต และได้รับการระบุว่าเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญมากที่สุดโดยแบ่งออกเป็น 7 หมวดังต่อไปนี้:
•ประสบการณ์ของลูกค้า
•ผู้ผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
•ประสิทธิภาพการดำเนินงาน
•การปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิต
•การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
•การเพิ่มความยืดหยุ่นและนวัตกรรม
•การลดต้นทุนและการสร้างกำไร

จากการวิเคราะห์ตัวชี้วัดดังกล่าว ทางทีมงานของ MRP Easy ได้คัดเลือกตัวชี้วัดที่จำเป็นต้องมีสำหรับผู้ผลิตมาทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด ซึ่งถูกจัดอยู่ภายใต้ 4 หมวด ดังต่อไปนี้ 

หมวดแรก การลดต้นทุนและการเพิ่มกำไร (Cost Reduction and Profitability Increase)
1.ต้นทุนการผลิตต่อปริมาณผลผลิต: คำนวณโดยการหารปริมาณผลผลิตทั้งหมดด้วยต้นทุนการผลิตโดยไม่รวมค่าใช้จ่ายด้านวัสดุ ตัวเลขที่ได้จะแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับแรงงานการใช้อุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายในการติดตามกระบวนการผลิต
2. การเพิ่มผลผลิตด้านรายได้ต่อพนักงาน: การเพิ่มผลผลิตด้านรายได้ต่อพนักงานคำนวณโดยการหารรายได้ทั้งหมดด้วยจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งสามารถคำนวณได้ในหลายระดับ ทั้งในระดับบริษัท ในระดับแผนก และระดับสายการผลิต โดยรายได้ต่อพนักงานแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนในการลทุน อย่างชัดเจน
3. สัดส่วนเวลาการทำงาน: คำนวณเป็นอัตราส่วนระหว่างเวลาหยุดสายการผลิตและเวลาดำเนินงานในสายการผลิต อัตราส่วนนี้เป็นตัวชี้วัดโดยตรงด้านความพร้อมใช้งานของเครื่องมืออุปกรณ์การผลิต หากเวลาหยุดสายการผลิตอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่ามีการใช้อุปกรณ์การผลิตที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้าอัตราส่วนคือ 0.5 หมายความว่ามีการหยุดสายการผลิตเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของเวลาดำเนินการผลิต
 
หมวดสอง คุณภาพของผู้จัดหาสินค้าและบริการให้แก่บริษั (Supplier Quality)
4. วัสดุที่มีคุณภาพ: คุณภาพของวัสดุที่มักจะกำหนดคุณภาพของสินค้า หากคุณภาพของวัสดุอยู่ในระดับต่ำ ก็จะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมสินค้า ซึ่งก่อให้เกิดต้นทุนที่เพิ่มขึ้นแก่ผู้ผลิต วัสดุที่มีคุณภาพสามารถพิจารณาจากหลายรูปแบบ เช่น ผู้จัดหาสินค้าและบริการ หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ และอัตราส่วนระหว่างของวัสดุที่มีความเสียหายต่อวัสดุที่มีสภาพดี
5. การจัดหาสินค้าและบริการได้ตรงต่อเวลา: คำนวณจากความแตกต่างระหว่างการสั่งซื้อสินค้าที่มีการจัดส่งตรงต่อเวลาและการสั่งซื้อสินค้าที่มีการจัดส่งล่าช้า แล้วหารด้วยจำนวนการสั่งซื้อทั้งหมด การติดตามตัวชี้วัดนี้จะช่วยให้เข้าใจว่าผู้จัดหาสินค้าและบริการแก่บริษัทมีความน่าเชื่อถือเพียงใด

หมวดสาม ประสบการณ์ของลูกค้า (Customer Experience)
6. การจัดส่งตรงเวลา: การติดตามตัวชี้วัดนี้จะช่วยให้เข้าใจว่าสินค้าจะถูกจัดส่งได้ตรงเวลาตามสัญญาที่กำหนดหรือมีความล่าช้า และช่วยทำให้ลูกค้าพึงพอใจกับการให้บริการ นอกจากนี้ ยังช่วยให้เข้าใจปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่ง
7. คุณภาพของผลผลิต: เป็นการวัดระดับคุณภาพของชิ้นส่วนที่ได้จากการผลิต หรือจำนวนชิ้นส่วนที่อยู่ในสภาพดีโดยไม่ต้องผลิตใหม่หรือชิ้นส่วนที่มีตำหนิ ชิ้นส่วนที่ผลิตออกมาดีย่อมหมายถึงทุกองค์ประกอบของกระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพ โดยต้องมีกระบวนการทำงานที่ดี คุณภาพของวัสดุดี และทีมงานผลิตมีความรู้และทักษะ และมีอุปกรณ์ทีดี แต่หากชิ้นส่วนที่ผลิตมีตำหนิ แสดงว่ามีปัญหาอยู่ที่ใดที่หนึ่งในระหว่างกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่ส่งสัญญาณว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นและควรมีการตรวจสอบกระบวนการผลิตอย่างใกล้ชิด

หมวดี่ ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operations Efficiency)
8. ศักยภาพของเครื่องจักร: เป็นการแสดงให้เห็นถึงกำลังการผลิตของเครื่องจักรโดยจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตที่เกิดขึ้นจริงและกำลังการผลิตของเครื่องจักร และผลผลิตสูงสุดที่จะสามารถผลิตได้จากเครื่องจักรตัวเดียวกัน อัตราผลผลิตที่สูงย่อมแสดงถึงประสิทธิภาพที่ดีของเครื่องจักร
9. การกำหนดตารางการผลิต: ความสามารถในการดำเนินการตามแผนการผลิตและการวางแผนการผลิตมีบทบาทสำคัญมาก ยิ่งกระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ยิ่งต้องให้ความสำคัญกับความสามารถในการดำเนินการตามแผน แต่ยังเป็นเรื่องยากที่จะบรรลุเป้าหมาย การจัดตารางการผลิตให้เป็นไปตามแผนมีความสำคัญมากหากเราเน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าและการบรรลุเป้าหมายของบริษัท ตัวชี้วัดนี้สามารถคำนวนได้จากความแตกต่างระหว่างผลผลิตที่คาดหวังและผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง หารด้วยผลผลิตที่คาดหวัง ((ผลผลิตที่คาดหวัง - ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง)/ ผลผลิตที่คาดหวัง)
10. การควบคุมสินค้าคงคลัง: สินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นหมายถึงการสิ้นเปลืองทรัพยากรการเงินและพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น แนวคิดหลักของการผลิตคือการใช้พื้นที่เพื่อการผลิต แต่ไม่ได้มีพื้นที่ไว้สำหรับจัดเก็บวัสดุพิเศษและส่วนประกอบ อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงคลังที่สูงขึ้นคือห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิ ภาพมากขึ้น อัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังสามารถคำนวณเป็นจำนวนวันที่มีวัสดุค้างในคลังสินค้าเพื่อการผลิต ซึ่งโดยทั่วไป เป้าหมายส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ผลิต แต่โดยทั่วไป หากมีวัสดุค้างในคลังสินค้าเกิน 30 วัน จะถือว่าค่อนข้างนานแล้ว

โดยสรุป ในการผลิตมีหลายปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) ที่กำหนด อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้นั้นไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่เป็นเข็มทิศที่แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานมีการพัฒนาในทิศทางที่ถูกต้อง หลังจากที่มีการติดตามการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เราจะเข้าใจปัญหาและสามารถระบุสาเหตุของปัญหาได้อย่างชัดเจน ที่สำคัญคือเราต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาที่พบ และกำหนดตัวชี้วัดเพื่อติดตามว่ากระบวนการแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จเพียงใด

แหล่งข้อมูล:
http://manufacturing-software-blog.mrpeasy.com/top-10-most-important-manufacturing-performance-measures-in-2015/