KPI for Your Success

.

KPI Academy




ยินดีต้อนรับสู่ KPI Academy ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูล องค์ความรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัด (Key Performance Indicators-KPI) โดย ทางทีมงานเราซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ด้านการกำหนดตัวชี้ วัดทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับประเทศและนานาชาติมาเป็นเวลานาน ได้ศึกษารวบรวมแนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดแห่งความสำเร็จ หรือที่เรียกว่า Success KPI ซึ่งมีลักษณะที่โดดเด่นกว่าตัวชี้วัดการปฏิบัติงานทั่วไป เพื่อสร้างความแตกต่างและการเติบโตให้แก่องค์กรอย่างยั่งยืน 

องค์กรท่านเคยประสบปัญหาในการกำหนดตัวชี้วัดและการนำตัวชี้วัดไปสู่การปฏิบัติบ้างหรือไม่?   

1. ผู้บริหารระดับสูง มอบหมายให้ผู้บริหารระดับกลาง คือระดับฝ่าย/ แผนกกำหนดตัวชี้วัดเพื่อวัดผลการปฏิบัติงานของแผนกนั้น ๆ ซึ่งระดับผู้จัดการของแผนกนั้นเป็นผู้กำหนด แต่ยังขาดการพิจารณาตัวชี้วัดในแต่ละแผนกร่วมกัน เนื่องจากต่างแผนกก็กำหนดขึ้นมากันเอง และตัวชี้วัดที่กำหนดขึ้นมาบางตัวก็ขาดความชัดเจน มีความซ้าซ้อน หรือมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรค่อนข้างน้อย

2. บุคลากรในระดับปฏิบัติงาน ยังขาดความเข้าใจในตัวชี้วัดที่ฝ่าย/ แผนกกำหนด และไม่ทราบว่าควรจะปฏิบัติอย่างไรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามตัวชี้วัดนั้น จึงทำงานตามคำสั่งในแต่ละวัน ส่งผลให้ตัวชี้วัดในระดับฝ่าย/แผนก ไม่ได้นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง ผลที่ตามมาคือเป้าหมายไม่สามารถบรรลุผลตามที่คาดหวังไว้

3. การกำหนดตัวชี้วัดยังขาดการเชื่อมโยงในการแปลงเป้าหมายระดับองค์กร สู่ระดับฝ่าย/ แผนก และระดับบุคคลอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้เป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดขาดทิศทางที่ชัดเจน นำไปสู่ความสับสน และความไม่มั่นใจว่าจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กรและบุคลากรอย่างแท้จริง

4. ขาดการวางระบบติดตามประเมินผลตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่กำหนดไว้แต่ละตัว ต้องมีการวางระบบการติดตามประเมินผลอย่างชัดเจน เริ่มตั้งแต่พิจารณาวิธีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับตัวชี้วัด เช่น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความพึงพอใจของลูกค้า องค์กรควรกำหนดแนวทางและความถี่ในการเก็บข้อมูล ซึ่งอาจได้จากการสร้างแบบสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า on-line หรือการไปเยี่ยมลูกค้าหลักเพื่อสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เป็นต้น

5. การกำหนดตัวชี้วัดมากเกินไปและมีความสำคัญน้อย เนื่องจากแต่ละฝ่าย/ แผนกต่างก็กำหนดตัวชี้วัดขึ้นมาเอง และบางตัวชี้วัดอาจไม่ได้มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรอย่างแท้จริง แต่กลับสร้างภาระแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างวิธีการเก็บข้อมูล และติดตามประเมินผลการดำเนินงาน

หากท่านประสบปัญหาดังกล่าว หรืออาจประสบปัญหาอื่น ๆ กรุณาเล่าประสบการณ์ให้ทางเราทราบ โดยกรอกชื่อ (Name) อีเมล (Email) และข้อความ (Message) ในกล่องข้อความใต้แถบ ติดต่อเรา ที่อยู่ด้านขวามือบนและคลิก Send เพื่อทางทีม KPI Academy จะได้ให้ข้อแนะนำและข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปรับใช้ในองค์กรต่อไป และหากท่านต้องการรับข่าวสาร Update เกี่ยวกับ KPI กรุณาพิมพ์ email address ของท่านใต้ข้อความกรุณาระบุอีเมลเพื่อรับข้อมูลข่าวสาร ฟรี!

หวังว่าข้อมูลต่าง ๆ จะเป็นประโยชน์แก่ท่าน