KPI for Your Success

.

Friday, February 12, 2016

KPI คืออะไร?, ตัวอย่าง KPI, ปัญหาที่พบในการกำหนด KPI


KPI คืออะไร?
KPI คือ ตัวชี้วัดการปฏิบัติงานหลัก ซึ่งย่อมาจากคำว่า Key หมายถึง หลัก สำคัญ  Performance หมายถึง การปฏิบัติงาน และ Indicator หมายถึง ตัวชี้วัด KPI เป็นการวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรและบุคลากรในองค์กรว่าสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรได้กำหนดไว้เพียงใด 

ตัวอย่าง KPI:   
- บริษัทที่ต้องการเพิ่มรายได้จะกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับ การเติบโตของยอดขาย (Sales Growth) ผลตอบแทนต่อยอดขาย (Net Profit Margin) ต้นทุนการดำเนินงาน (Operating Cost) เป็นต้น
-บริษัทที่ต้องการเพ่ิมลูกค้าด้วยการสร้างแบรนด์สินค้าใหม่จะกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับการรับรู้แบรนด์สินค้าในใจของผู้บริโภค (Brand Awareness) เป็นต้น
-บริษัทที่ต้องการทราบความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กรจะกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับ การสนับสนุนและคำแนะนำจากพนักงาน (Staff Advocacy) เป็นต้น


ปัญหาที่พบในการกำหนด KPI:   
- องค์กรมักจะประสบปัญหาในการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมและสอดรับกับเป้าหมายขององค์กร หากคัดเลือกตัวชี้วัดที่ "ไม่ใช่" และ "ไม่เหมาะสม" สำหรับองค์กร ก็จะนำไปสู่การดำเนินงานที่ผิดทิศทางและผิดเป้าหมาย
- ในบรรดาตัวชี้วัดที่มีให้เลือกเป็นจำนวนมาก ตัวชี้วัดอะไรที่จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง (Success KPI) และสามารถสร้างความโดดเด่นและแตกต่างให้แก่องค์กรได้อย่างแท้จริง?
- การที่องค์กรสร้างตัวชี้วัดมากเกินไป แต่ขาด Success KPI จะทำให้องค์กรเน้นการปฏิบัติงานทั่วๆ ไป โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรอย่างสูงสุด
- เมื่อองค์กรกำหนดเป้าหมายในภาพรวมที่ต้องการบรรลุแล้ว ทำอย่างไรจึงจะสามารถกระจายเป้าหมายดังกล่าวมาสู่ระดับบุคคลให้ประสบผลสำเร็จ?


ประสบการณ์ของท่านเป็นอย่างไร?
- ท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับตัวชี้วัดอย่างไร
- ปัญหาที่มักจะพบในองค์กรของท่านมีอะไรบ้าง
- ตัวชี้วัดที่องค์กรของท่านกำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง (Success KPI) และสามารถสร้างความโดดเด่นและแตกต่างให้แก่องค์กรหรือไม่?
 กรุณาแบ่งปันความคิดเห็นให้เราทราบ...










หนังสือ: BSC และ KPI เพื่อการเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน
ผู้แต่ง:  ดร.วัฒนา พัฒนพงศ์
ISBN: 974-91267-3-4
สำนักพิมพ์:  วิชั่น สมาร์ท
จำนวน:  596 หน้า 
หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในบรรดาหนังสือขายดีและได้รับการนำไปประยุกต์ใช้เป็นกรณีศึกษาในสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง โดยมีการนำเสนอวิธีการประยุกต์ใช้หลักการวัดความสำเร็จแบบสมดุล (Balanced Scorecard) และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ในการวางแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานในภาพรวมตั้งแต่ระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน และระดับทีมปฏิบัติงาน โดยผู้เขียนได้เขียนจากกรณีศึกษา และการปฏิบัติจริงจากประสบการณ์ในฐานะทีปรึกษาขององค์กรทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชนหลายแห่ง